วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่

ประวัติโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 2419 องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระชนมายุครบเบญจเพส จึงมีพระราชดำริที่จะสร้างพระอารามเพื่อทรงอุทิศพระราชกุศลถวายสนองพระเดชคุณแด่องค์พระราชชนนี คือ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น
โรงเรียน เทพศิรินทร์ ได้รับการสถาปนาจาก องค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ด้วยพระราชปรารภที่จะทำนุบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้เจริญแพร่หลายขึ้นโดยรวด เร็วจึงมีพระบรมราชโองการให้จัดการศึกษาสำหรับราษฎรขึ้น โดยพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ได้จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมบาลี ขึ้นภายใน วัดเทพศิรินทราวาส โดย ในช่วงแรกของการจัดตั้งโรงเรียนนั้น โรงเรียนเทพศิรินทร์ได้อาศัยศาลาการเปรียญภายในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่ทำ การเรียนการสอน
ครั้นถึง พ.ศ. 2438 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ได้ทรงดำริที่จะสร้างตึกเรียนสำหรับวัดเทพศิรินทราวาสขึ้น เพื่ออุทิศพระกุศล สนองพระเดชพระคุณแห่งองค์ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระชนนี และเพื่ออุทิศพระกุศลแก่ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา ชายาของพระองค์ ตึกเรียนหลังแรกนี้ได้รับการออกแบบให้มีศิลปะเป็นแบบโกธิคซึ่งถือว่าเป็นอาคารศิลปะโกธิคยุคแรกและมีที่เดียวในประเทศไทยโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นผู้ออกแบบ และในการนี้ พระยาโชฏึกราชเศรษฐี ได้บริจาคทุนทรัพย์เพื่อสร้างตึกอาคารเรียนขึ้นด้านข้างของตึกเรียนหลังแรกอีกด้วย
ภาพอาทิตย์อุทัยทอแสงบนพื้นน้ำทะเล หมายถึง “ภาณุรังษี” และ “วังบูรพาภิรมย์” โดย “ภาณุรังษี” นี้เป็นพระนามของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงประทานตรานี้ให้แก่โรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระองค์มีพระคุณอเนกอนันต์แก่โรงเรียน อาทิทรงเป็นผู้ทูลขอให้ทรงสถาปนาโรงเรียนต่อองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการสถาปนาโรงเรียนแบบถาวรและทรงถือว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนในดูแลของพระองค์ด้วย
อักษรประดิษฐ์ “ม” หมายถึง “หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา” ชายาอันเป็นที่รักของสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงหม่อมแม้น ว่าถ้าไม่มีหม่อนแม้น การกำเนิด ตึกแม้นนฤมิตร ก็คงไม่มี ดังนั้นโรงเรียนเทพศิรินทร์ก็คงไม่มี จึงเป็นความหมายที่ควรระลึกไว้
ช่อดอกรำเพย หมายถึง พระนามแห่งองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์” พระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงสร้างพระอารามและโรงเรียนเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระ บรมราชชนนี ทำเครื่องหมายดอกรำเพยไว้เพื่อให้คนรุ่นหลัง รู้ไว้ว่าพระนามเทพศิรินทร์นี้ได้มาจากพระองค์ท่าน เป็นพระนามมหามงคลยิ่งควรรักษาไว้ให้ดี
สีประจำโรงเรียน คือ “สีเขียวและสีเหลือง” เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ตามตำราพิชัยสงคราม (สวัสดิรักษา) ซึ่งวันพฤหัสบดีนั้นเป็นวันประสูติของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4 อีกทั้งยังเป็นสีของใบและดอกของต้นรำเพย ซึ่งเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี คือ “พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์”
ดอกรำเพย จึงถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของโรงเรียนเทพศิรินทร์
พุทธสุภาษิตประจำโรงเรียน “น สิยา โลกวฑฺฒโน” ความหมายคือ “ไม่ควรเป็นคนรกโลก” เป็นพุทธสุภาษิตซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์องค์ ที่ 5 ได้ประสาทให้แก่โรงเรียน และท่านอธิบายความหมายของพุทธสุภาษิตบทนี้ว่า “คนเราบางคน เกิดมารกโลก ทำนองเดียวกับติณชาติที่หาประโยชน์อะไรมิได้ ทำให้เสียเงินทองกำจัด และรกชัฏขวากหนาม บางอย่างเป็นศัตรูแก่โลกไม่เป็นประโยชน์ มนุษย์ที่ไม่มีเมตตากรุณา คอยแต่จะเบียดเบียยนผู้อื่น จัดว่าเป็นคนรกโลก อย่าเกิดมาเลยเสียดีกว่า สู้สัตว์บางชนิดก็ไม่ได้”

ประวัติดอกรำเพย



                                                          ดอกรำเพย                                                          
ดอกรำเพย เป็นไม้พุ่ม  สูง 2-3 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ต้นมียางขาวข้น ยางเป็นพิษ ใบ เดี่ยว เรียวยาว ดอกช่อ ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบปลายกิ่งช่อละ 3-8 ดอก ดอกมีลักษณะเป็นหลอด ปลายกลีบแยกจากกันคล้ายรูประฆัง มีหลายสี เช่น สีขาว เหลือง ส้ม ผล เป็นรูป สี่เหลี่ยม สีเขียว เมื่อแก่จัดเป็นสีดำ เมล็ด มี 1-2 เมล็ด ออกช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว ออกดอกตลอดปี การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง ประโยชน์ เป็นไม้ประดับ ถิ่นกำเนิด จากอเมริกาเขตใต้ ต้น: มีความสูง 2 – 3 เมตร มียางสีขาวเป็นพิษ ใบ: เป็นใบเดี่ยวมีลักษณะใบแคบเรียวยาวคล้ายใบยี่โถ หนาแต่ไม่แข็ง ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8 – 12 เซนติเมตร ดอก: ดอกออกเป็นช่อ ออกทีละ 3 – 4 ดอกที่ปลายกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็นกรวย มีกลีบ 5 กลีบเรียงซ้อนทับกัน โคนดอกเป็นหลอดมีสีอมเขียว มีกลีบเลี้ยง ยาวแหลม 5 กลีบเช่นกัน ดอกมีหลายสี เช่น สีเหลือง ส้ม ขาว เมื่อดอกโรยจะติดผล ผล: มีลักษณะกลม ปลายผลแบนมีรอยหยักเป็น 2 แฉก เมื่อสุกมีสีดำ มีเมล็ดข้างใน 1 – 2 เมล็ด ออกดอกในฤดูฝนถึงฤดูหนาว การดูแล: ขึ้นได้ดีในดินทั่วไป โดยเฉพาะดินปนทราย และชอบแสงแดดจัด การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
ลักษณะของดอกรำเพย มีสีเหลืองอร่ามตา ใบมีสีเขียวสดใส แต่ภายในมีพิษมากมายต่อมาเราเรียกดอกไม้
ชนิดนี้ว่า “ดอกรำเพย” เรามาลองดูรายละเอียดทางด้านชีวภาพกันบ้างนะครับ ว่ามันเป็นมาอย่างไรสำหรับดอกรำเพย ”รำเพย”เป็นพืชประเภทใบเลี้ยงคู่ จัดอยู่ในวงศ์ APOCYNACEAE (ไม้ลั่นทม)ชื่อทางพฤกษศาสตร์เรียกว่า Therretia peruvianamy โดยทั่วไปเรียก Yellow Oleander,Be-Still รำเพยเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลำต้นโปร่ง ใบมีสีเขียวขนาดเล็ก เรียว ยาวคล้ายใบยี่โถแต่ไม่แข็งเท่ามีน้ำยางสีขาวข้นอยู่ตาม ลำต้นและใบซึ่งเค้าว่ากันว่ามีพิษรุนแรงมาก(แต่โดยส่วนตัวผู้เขียนอยู่เทพศิรินทร์ มาปีที่5ยังไม่เคยโดนพิษนี้)รำเพยนั้นมีหลายสีแต่เราจะคุ้นกับกับสีเหลืองมากกว่า ต้นรำเพยถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศเปรูและเวียนนาภายหลังจึงพบว่ามีกระจายอยู่ทั่วไปตามแถบอเมริกาเขตร้อน

ความเป็นมาของแม่ฮ่องสอน


จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                        
 จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดชายแดนจังหวัดหนึ่ง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกสุดของภาคเหนือ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 924 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 12,681.259 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง แม่สะเรียง ขุนยวม ปาย แม่ลาน้อย สบเมย และปางมะผ้า
แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่า เมืองสามหมอก เนื่องจากเป็นเมืองในหุบเขา ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนทอดขนานไปกับทิวเขาถนนธงชัย และทิวเขาแดนลาว ดังนั้น จึงถูกปกคลุมด้วยหมอกตลอดทั้งปี มีทิวทัศน์สวยงามตามธรรมชาติของเทือกเขาสลับซับซ้อนและป่าไม้นานาพันธุ์จนมีคำกล่าวว่าเปรียบเสมือนกับเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของเมืองไทย





ประวัติและความเป็นมา

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อปี พ.ศ. 2374 พระเจ้ามโหตรประเทศ ผู้ครองนครเชียงใหม่ ให้ เจ้าแก้วเมืองมา เป็นแม่กอง นำไพร่พลช้างต่อและหมอควาญ ออกไปจับช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลช้างช้างป่ามาใช้งาน เจ้าแก้วเมืองมา ยกไพร่พลข้ามภูเขา มาทางตะวันตกของเชียงใหม่? ซึ่งมีช้างป่าชุกชุม โดยมอบหน้าที่ให้ พะกาหม่อง เป็นผู้ควบคุมดูแล เมื่อคล้องช้างได้เป็นจำนวนเพียงพอแล้ว จึงพากันเดินทางต่อไปถึงชุมชนบ้านป่าแห่งหนึ่ง มีทำเลดีมีร่องธารน้ำและที่ราบ เหมาะแก่การฝึกช้างป่า จึงหยุดไพร่พลตั้งบ้านเรือนขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “แม่ร่องสอน” หมายถึงที่มีร่องน้ำฝึกช้าง ต่อมา ได้เพี้ยนเป็น “แม่ฮ่องสอน
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2399 มีชาวไทยใหญ่ อพยพมาหลบภัยสงครามอยู่ที่แม่ร่องสอนเป็นจำนนมาก โดยมี เจ้าฟ้าโกหล่าน และชานกะเล เป็นหัวหน้า เมื่อมาอยู่ที่นี่ ชานกำเล ได้ช่วยหน่วยงานต่างๆ จนเป็นที่โปรดปรานของพะกาหม่องถึงกับยกลูกสาวชื่อนางไส ให้เป็นภรรยา ต่อมาชานกะเล อพยพครอบครัวลงใต้มาอยู่ที่เมืองกุ๋นลม หรือขุนยวมในปัจจุบัน ได้เป็นเข้าเมืองกุ๋นลมคนแรก ต่อมานางไสถึงแก่กรรม เจ้าฟ้าโกหล่าน ยกหลานสาวชื่อเจ้านางเมี๊ยะให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นลม เจริญมั่งคั่งส่งส่วยตอไม้ให้ได้มากมาย จนถึง พ.ศ. 2417 เจ้าอินทวิชยานนท์ จึงแต่งตั้งชานกะเลเป็น พญาสิงหนาถราชา แล้วสถาปนาเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงถือเอาต้นกำเนิดเมือง คือ ร่องน้ำสอนช้าง และช้างตัวเดียวเล่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัด
จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นที่รวมของชนเผ่าไทยและชาวไทยภูเขาหลายเผ่า มาแต่โบราณ ผู้คนเหล่านี้ยังคงดำเนินชีวิตเรียบง่าย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดังเดิมไว้ เฉกเช่นเมื่อหลายร้อยปีก่อน ประกอบด้วย ไทยใหญ่ ม้ง มูเซอ ลัวะ ลีซอ จีนฮ่อ และกะเหรี่ยง